หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมการเกษตรเพื่อการปศุสัตว์สมัยใหม่
(Agricultural Innovation for Livestock Modernization Research Unit)

หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมการเกษตรเพื่อการปศุสัตว์สมัยใหม่
Head of  Agricultural Innovation for Livestock Modernization Research Unit

ผศ.น.สพ.ดร. มนกานต์ อินทรกำแหง
หัวหน้าหน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมการเกษตรเพื่อการปศุสัตว์สมัยใหม่


ผู้ร่วมหน่วยวิจัย


ผศ.ดร.ฉัตรตระกูล สมบัติธีระ
สังกัด คณะวิทยากรสารสนเทศ
ม.มหาสารคาม

ผศ.ดร.ยุวดี อินสำราญ   
สังกัด คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ม.ราชภัฏมหาสารคาม

อ.ดร.ทองปาน ปริวัตร   
สังกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์
ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ดร.พงษ์ศักดิ์ ดรพินิจ 
สังกัด คณะบริหารธุรกิจ
ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อ.อนุชา ดีผาง
สังกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์
ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผศ.ดร.นวลละออง อรรถรังสรรค์
สังกัด คณะการบัญชีและการจัดการ
ม.มหาสารคาม


หลักการและเหตุผล

“นวัตกรรม” เป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจใหม่ สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งชันในเชิงเศรษฐกิจ นวัตกรรมเริ่มต้นจากความคิดสร้างสรรค์ การประดิษฐ์คิดค้น การสร้างต้นแบบ การสร้างนวัตกรรมด้านการเกษตร จะเป็นการบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ มาผสานกับการปลูกพืชและการปศุสัตว์ เพิ่มผลิตภาพโดยมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น และลดการใช้ทรัพยากร

หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมการเกษตรเพื่อการปศุสัตว์สมัยใหม่ (Agricultural Innovation for Livestock Modernization Research Unit) มีวิสัยทัศน์ชัดเจนในการสร้างความทันสมัยทางการเกษตร (Agriculture Modernization) เปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปเกษตรกรรมดั้งเดิมให้เป็นเกษตรกรรมสมัยใหม่ ตอบสนองต่อความต้องการด้านความมั่นคงของอาหาร(Food Security) ผสมผสานและเชื่อมโยงระหว่างการเพาะปลูกและการเลี้ยงปสุสัตว์ให้ได้ผลิตเพิ่มและมีคุณภาพที่ดีขึ้น เผชิญความท้าทายทั้งด้านทรัพยากรที่จำกัด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมการระบาดของโรคพืชและโรคปศุสัตว์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ บริบทสังคมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค

ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้นภายใต้ศูนย์วิจัยเฉพาะทางด้านนวัตกรรมการเกษตรนี้ มีเป้าหมายสร้างการยอมรับในวงการวิชาการในระดับประเทศ หรือ ระดับนานาชาติ พัฒนาบุคลากรวิจัย บัณฑิตศึกษาฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้จากผลงานวิจัย มีผลงานที่ได้รับลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร นำองค์ความรู้และผลงานสู่การขยายผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้มีการใช้ประโยชน์ในชุมชน เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม สร้างงานและอาชีพ และสร้างความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น

ติดต่อสอบถาม