หน่วยวิจัยสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก
(Small Ruminant Research Unit)

หน่วยวิจัยเฉพาะทางด้านชีวการสัตวแพทย์
Head of  Small Ruminant Research Unit

ผศ.สพ.ญ.ดร. สุกัญญา ลีทองดี
หัวหน้าหน่วยวิจัยสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก


ผู้ร่วมหน่วยวิจัย


ผศ.น.สพ.ดร. ปองพล พงไธสงค์
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

รศ.ดร.ทรงศักดิ์ จำปาวะดี
สังกัด คณะเทคโนโลยี

ผศ.น.สพ.ดร.วิชาภรณ์ เลิศวีรพล
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

อ.สพ.ญ.ปิณฑิรา เที่ยงเธียรธรรม  
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

อ.ดร.วุฒิชัย เคนไชยวงศ์ 
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

ผศ.ดร.ขนิษฐา เพ็งมีศรี
สังกัด คณะเทคโนโลยี

ผศ.ดร.วาสนา ศิริแสน 
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

หลักการและเหตุผล

          ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก เช่น แพะแกะในประเทศไทยได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเกษตรกรในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น มหาสารคาม นครราชสีมา ขอนแก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุดรธานี มุกดาหาร นครพนม หนองบัวลำภู มีความนิยมเลี้ยงแพะแกะอย่างกว้างขวางจำนวนเกษตรกรและฟาร์มแพะแกะเพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้เนื่องมาจากการขยายตัวของตลาดส่งออกไปยังในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เวียดนามและจีน (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์, 2563) เมื่อเปรียบเทียบจำนวนแพะในจังหวัดมหาสารคามปี พ.ศ. 2562 กับ 2563 พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 70.71 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของการผลิตแพะแกะ

          แต่อย่างไรก็ตามปัญหาทางด้านการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กยังคงมีปัญหาที่ทำให้การขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานของการผลิตมีหลายประเด็น ได้แก่ ปัญหาในระดับต้นน้ำ การกำหนดปริมาณการผลิต การจัดการฟาร์มในระยะต่าง ๆ การผสมพันธุ์ การเพิ่มประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์ การใช้เทคโนโลยีช่วยทางระบบสืบพันธุ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนาคุณภาพซาก การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเนื้อและนม การจัดการอาหาร เช่น การขยายตัวของเมืองและพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ มีผลต่อแหล่งหญ้าธรรมชาติและพื้นที่เลี้ยงลดลง ภาวะฝนแล้ง ทำให้ขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ รวมทั้งการผลิตแพะแกะขุนเพื่อส่งตลาดยังไม่มีปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ปัญหาในระดับกลางน้ำและปลายน้ำเช่น ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในแพะแกะทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

          มหาวิทยาลัยมหาสารคามในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของวิชาการทางด้านต่างๆและมีนักวิชาการที่มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก มีเครือข่ายนักวิจัยที่มีความชำนาญในเรื่องสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก ทั้งในระดับประเทศและอาเซียน มีเครือข่ายการทำงานขับเคลื่อนอาชีพการเลี้ยงแพะร่วมกับหน่วยงานของราชการเช่นกรมปศุสัตว์ เหล่านี้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และผลิตผลงานวิจัย ที่เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา  ดังนั้นหน่วยวิจัยสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงมีความพร้อมในการพัฒนาระบบเครือข่ายของการวิจัย พัฒนานวัตกรรม และผลิตองค์ความรู้ในด้านสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กให้เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการระดับประเทศและนานาชาติได้

ติดต่อสอบถาม