หน่วยวิจัยสรีรวิทยาวิทยาทางสัตว์ประยุกต์
Head of Applied Animal Physiology Research Unit
ผศ.น.สพ.ดร. วิชาภรณ์ เลิศวีรพล
หัวหน้าหน่วยวิจัยสรีรวิทยาวิทยาทางสัตว์ประยุกต์
ผู้ร่วมหน่วยวิจัย
อ.น.สพ.ชยานนท์ ชมภูแสน
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์
อ.ดร.วุฒิชัย เคนไชยวงศ์
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์
ผศ.น.สพ.ดร.ปองพล พงไธสงค์
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์
อ.น.สพ.ธีรพงษ์ พลเตมา
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์
ผศ.น.สพ.ดร.วันพิทักษ์ ป้องกัน
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Professor Dr. A. K. M. Ahsan Kabir
Department of Animal Science
Faculty of Animal Husbandry
Bangladesh Agricultural University
หลักการและเหตุผล
องค์ความรู้ทางด้านสรีรวิทยา (physiology) เป็นรากฐานที่สำคัญทั้งในมนุษย์และในสัตว์ และมีความแตกต่างจากสาขาวิชาอื่น ๆ ที่อยู่ในแขนงของชีวศาสตร์ทางการแพทย์ (biomedical science) เนื่องจากสรีรวิทยาเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular system) ระบบประสาท (nervous system) ระบบหายใจ (respiratory system) ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (urinary system) ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal system) ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) และระบบสืบพันธุ์ (reproductive system) เป็นต้น โดยเน้นศึกษากระบวนการซึ่งควบคุมระบบที่ทำให้สัตว์สามารถดำรงอยู่ได้อย่างปกติ (homeostasis) รวมทั้งศึกษากลไกการเกิดโรค (pathogenesis) กระบวนการทางพยาธิสรีรวิทยา (pathophysiology) และพันธุกรรม (genetics) ดังนั้นการศึกษาทางด้านสรีรวิทยาจึงมีความจำเป็นสำหรับความเข้าใจการทำหน้าที่ตามปกติและความผิดปกติที่เกิดขึ้นของร่างกายสัตว์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัย การรักษาโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การให้การบำบัดรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่สัตว์ป่วย สามารถป้องกันโรค และส่งเสริมการดูแลสุขภาพของสัตว์ให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น ดังนั้นการจัดตั้งหน่วยวิจัยนี้จึงมีวิสัยทัศน์ คือ เป็นหน่วยวิจัยที่มีความเป็นเลิศในการทำวิจัย ผลิตองค์ความรู้ใหม่ทางสรีรวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัยสู่สังคมวิชาการ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัย การรักษาและการป้องกันโรคในสัตว์