หน่วยวิจัยวิทยาการระบบสืบพันธุ์สัตว์
Head of The Reproduction in Domestic Animal Research Unit
อ.สพ.ญ. ปิณฑิรา เที่ยงเธียรธรรม
หัวหน้าหน่วยวิจัยวิทยาการระบบสืบพันธุ์สัตว์
ผู้ร่วมหน่วยวิจัย
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีทั้งเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการสร้างระบบเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่ง
แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ยังคงประสบปัญหาทางด้านการผลิตสัตว์ ทั้งในเรื่องผลผลิตและการจัดการในการผสมพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลเสียต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร วิทยาการการสืบพันธุ์เป็นวิธีหนี่งที่สามารถช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ประกอบด้วย การผสมเทียม การกระตุ้นการตกไข่หลายใบร่วมกับการย้ายฝากตัวอ่อน และการผลิตตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ วิทยาการเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาด้านการจัดการทางระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ การพัฒนาลักษณะทางพันธุกรรมให้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีว่ารุ่นพ่อ-รุ่นแม่ รวมถึงลดการเกิดเลือดชิดภายในฟาร์ม เพิ่มอัตราการผสมติดและเพิ่มการเกิดลูกภายในฟาร์ม นอกจากนี้ ทำให้เกิดการพัฒนาทางพันธุกรรมที่ยั่งยืนและเป็นส่วนสำคัญในการรักษาลักษณะทางพันธุกรรมสัตว์ได้อีกด้วย หากสามารถนำวิทยาการเหล่านี้มาใช้แก่เกษตรกรจะมีส่วนช่วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้เป็นอย่างมาก แต่มีเกษตรกรเพียงส่วนน้อยที่สามารถเข้าถึงวิทยาการเหล่านี้ได้
หน่วยวิจัยวิทยาการระบบสืบพันธุ์สัตว์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพร้อมในการพัฒนาวิทยาการระบบสืบพันธุ์สัตว์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้แก่เกษตรกร และเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการระดับประเทศและนานาชาติต่อไป