หน่วยวิจัยเฉพาะทางด้านชีวการสัตวแพทย์
(The Bioveterinary Research Unit (BRU)

หน่วยวิจัยเฉพาะทางด้านชีวการสัตวแพทย์
Head of  (The Bioveterinary Research Unit (BRU)

อ.น.สพ.ดร. จรูญ วันดี
หัวหน้าหน่วยวิจัยเฉพาะทางด้านชีวการสัตวแพทย์


ผู้ร่วมหน่วยวิจัย


อ.สพ.ญ.ดร.มณทิรา ยศพล
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

อ.สพ.ญ.ดร. ปิยะรัตน์ ศรีโนนทอง
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

อ.สพ.ญ.ภุมรินทร์ ทิพยประมวล
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

ผศ.สพ.ญ.ดร.อมรรัตน์ เจือสุข
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

อ.สพ.ญ.ณัฐญา วัดเวียงคำ
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

อ.สพ.ญ.ศิริลักษณ์ จันทอุตสาห์
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

รศ.น.สพ.ดร.วรพล เองวานิช
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์

อ.น.สพ.อดิเทพ คอลพุทธา
สังกัด คณะสัตวแพทยศาสตร์


หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพสัตว์เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพสัตว์ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วย หรือการตายของสัตว์ นอกจากจะส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจระดับของประเทศแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจของผู้เลี้ยงสัตว์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงสัตวืเศรษฐกิจ หรือกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นเพื่อนของมนุษย์ก็ตาม แนวทางการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่สัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่ในการเยียวยารักษาสัตว์ต้องการที่สุด ดังนั้นการศึกษาวิจัยองค์ความรู้พื้นฐาน การประยุกต์องค์ความรู้พื้นฐานในระดับคลิก ตลอดจนการศึกษาทางด้านคลินิกจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนา และสร้างแนวทางการวินิจฉัย และการรักษาโรคในสัตว์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาด้านชีวการสัตวแพทย์ เป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานการทำงานในระดับโมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะและสัตว์ทดลอง ทั้งในสภาวะที่เป็นปกติและในสภาวะที่สัตว์ป่วยเป็นโรค โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านต่างๆ ร่วมกันในการศึกษา อาทิ เช่น ชีวเคมี กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา พิษวิทยา เภสัชวิทยา พยาธิวิทยา ปรสิตวิทยา แบคทีเรียและไวรัสวิทยา เป็นต้น งานวิจัยทางด้านชีวการสัตวแพทย์อาจแบ่งเป็นทั้งการศึกษาทั้งในระดับพรีคลินิก และระดับคลินิกโดยองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้น นำไปสู่การสร้าง การพัฒนา และการประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างแนวทางการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคแบบใหม่ที่มีประสิททธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการจัดตั้งหน่วยวิจัยทางด้านชีวสัตวแพทย์ ( The Bioveterinary Research Unit, BRU) จึงเป็นหน่วยวิจัยที่มุ่งหวังให้บุคคลากรทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยเข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมมือวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเข้มแข็งทางวิชาการ หรือสร้างนวัตกรรม เพื่อเผยแพร่สู่สังคมทั้งในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ

ติดต่อสอบถาม